Sharing

ผู้ป่วยโรคมะเร็งใช้น้ำมันปรุงประกอบอาหารอย่างไรดี

 

            น้ำมันเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงที่คนไทยใช้ประกอบอาหารมานาน และส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ต้องใช้น้ำมันในการปรุงอาหารเพื่อให้อาหารออกมาน่ารับประทาน ผู้ป่วยโรคมะเร็งเองก็ไม่ควรต้องจำกัดถึงขนาดไม่ทานน้ำมันเลย เพราะน้ำมันที่รับประทานอย่างถูกต้องจะช่วยในการลดการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยบำรุงผิวให้ไม่แห้ง ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงเช่นผื่นผิวหนังจากการได้ยารักษาโรคมะเร็งบางชนิดเช่นยาพุ่งเป้า การได้ไขมันที่เพียงพอทผิวไม่แห้งลดอาการข้างเคียงดังกล่าวได้ ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องมาเรียนรู้แหล่งไขมันที่ควรบริโภคกันว่าควรใช้ไขมันประเภทไหน

            น้ำมันที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวเป็นหลักควรต้องทำการงดเว้นหรือรับประทานให้น้อย เพราะกรดไขมันอิ่มตัวส่งผลต่อกระบวนการเกิดการอักเสบ เมื่อร่างกายเกิดการอักเสบแล้วก็จะกดภูมิคุ้มกันทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ลดลง และอาจจะไปกระตุ้นการสร้างลิ่มเลือดไปอุดตามอวัยวะต่างๆ ได้ ดังนั้นการควบคุมการอักเสบจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ไขมันที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวจึงควรบริโภคแต่น้อย ไม่ได้แปลว่างดจนห้ามเลยนะครับ แต่ให้บริโภคน้อยลงไม่ใช่บริโภคเป็นหลัก ไขมันเหล่านี้ได้แก่น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว หลายท่านอาจจะไปอ่านว่าน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นดีต่อสุขภาพเพราะมี lauric acid อยู่เป็นกรดไขมันความยาวปานกลาง (medium chain triglyceride) อย่างไรก็ตามก็ถือเป็นกรดไขมันที่เป็นไขมันอิ่มตัวอยู่ดี ดังนั้นต้องบริโภคแต่น้อยไม่ใช่การใช้น้ำมันมะพร้าวมาทอดอาหาร หรือดื่มน้ำมันมะพร้าวแบบคีโต แบบนั้นอาจไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน หากจะทำแบบนั้นให้ปรึกษานักกำหนดอาหารเพื่อให้คำแนะนำถึงปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละคนจะดีที่สุดครับ ส่วนน้ำมันที่กล่าวถึงอีกแหล่งคือน้ำมันหมู น้ำมันหมูเป็นน้ำมันที่ใช้กันมานานในครัวเรือนของเรา โดยพบว่าน้ำมันหมูจะมีกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็นส่วนประกอบอัตราส่วนใกล้ๆ กัน ซึ่งเหมาะกับการนำมาทอดอาหารจะทนความร้อนมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมะเร็งคงไม่ได้เหมาะกับการได้รับไขมันในปริมาณที่มากเกิน ดังนั้นไม่แนะนำให้ใช้ทอดอาหารรับประทานทุกวันนะครับ เพียงแต่บางครั้งอยากทานไข่เจียวใช้น้ำมันหมูเจียวก็ทำได้เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยคัรบ และระมัดระวังการทานกากหมูเจียวเนื่องจากกากหมูคือเนื้อสัตว์โดนความร้อนหากมีการไหม้ในระหว่างเจียว หรือกากหมูที่เก็บไว้มีกลิ่นหืนล้วนแล้วแต่สามารถกระตุ้นมะเร็งให้กับเราได้คัรบ

            น้ำมันกรดไขมันไม่อิ่มตัว กลุ่มนี้มักเป้นน้ำมันจากพืชที่มีหลากหลายเหลือเกินในท้องตลาดนะคัรบ น้ำมันถั่วเหลืองที่ขายกันอย่างแพร่หลายในท้องตลาดโดยมากจะเหมาะกับการผัดอาหาร เพราะจะทนความร้อนในระดับหนึ่งแต่ก็ได้รับเข้ามามากก็กระตุ้นการอักเสบได้ง่ายเพรามี omega-6 ในตัวของไขมันด้วย จึงควรมองหาแหล่งน้ำมันอื่นบ้างทดแทนเช่นน้ำมันรำข้าว จะเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ผสมกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนบ้าง มีความทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นจะเหมาะกับการเอามาผัดอาหาร ส่วนน้ำมันมะกอกนั้นส่วนมากแม้เค้าจะมีกรดไขมันตัวที่ดีอยู่มากแต่ไม่ค่อยทนความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงจัดจึงไม่เหมาะกับการทอดอาหารไฟแรงๆ เมนูที่ต้องใช้ความร้อนสูงๆ ควรใช้ทำน้ำสลัดหรือคลุกแคล้าอาหารจะเหมาะมากกว่า ส่วนนำมันชนิดอื่นที่มีในท้องตลาดเช่น้นำมันเมล็ดชา กลุ่มนี้จะเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมัน omega-9 เป็นส่วนใหญ่มีฤทธิ์กดการอักเสบ สามารถนำมาปรุงอาหารและเอามาผัดได้แต่ราคาอาจจะสูงเล็กน้อยนะคัรบ ส่วนน้ำมันที่มาจากต่างประเทศที่ทนความร้อนสูงได้ดีคือน้ำมันอะโวคาโด ซึ่งจะสามารถนำมาปรุงประกอบอาหารที่มีความร้อนสูงๆได้ และให้กรดไขมันที่ช่วยกดการอักเสบได้ดี  ส่วนน้ำมันงาที่เราอาจจะเคยได้ยินการปรุงอาหารและเรื่องของการต้านมะเร็งนั้น พบว่าหากเอาน้ำมันงามาปรุงอาหารจะต้องเก็บน้ำมันงานที่เปิดใช้งานแล้วให้พ้นแสงแดด และปิดขวดให้สนิทเพราะหากกระบวนการเก็บไม่ดีตั้งทิ้งไว้แล้วจะเกิดกลิ่นหืนซึ่งเป็นอนุมูลอิสระถือเป็นสารก่อมะเร็.ขึ้นมาได้

            ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งจึงไม่ควรกังวลในการเลือกน้ำมันปรุงอาหารมาก แค่ใช้ให้ถูกประเภทและยืนอยู่บนหลักทานไขมันให้น้อยแต่พอดี ไม่ถึงกับต้องอดไขมันไปเลยครับ ก็เป็นการดูแลตนเองเรื่องการปรุงประกอบอาหารให้ถูกหลักโภชนาการได้แล้วครับ

809 2

บทความที่เกี่ยวข้อง

2 Comments

  • Image placeholder

    ดร.กมล ไชยสิทธิ์

    27/04/2023 22:26

    test

    Reply

    • Image placeholder

      02/05/2023 06:05

      ทดสอบ

  • Image placeholder

    นพ.ทดสอบ ดูแลสุขภาพ

    19/08/2023 21:54

    มีประโยชน์มากครับ

    Reply